ปริมาณกายภาพและหน่วย
ปริมาณทางฟิสิกส์เป็นปริมาณที่สามารถวัดได้ด้วยเครื่องมือโดยตรงหรือโดยอ้อม
เป็นปริมาณที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ปริมาตร มวล น้ำหนัก
ความเร็ว ความดัน แรง เป็นต้น ปริมาณเหล่านี้
จะต้องมีหน่วยกำกับจึงจะมีความหมายชัดเจน เช่น ปริมาตรอาจใช่หน่วยเป็น
ลูกบาศก์เมตร แกลลอน หรือ ลิตร
ในสมัยก่อนหน่วยที่ใช้สำหรับวัดปริมาณต่างๆ มีหลายระบบ เช่น ระบบอังกฤษ
ระบบเมตริกและระบบของไทย ทำให้ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ดังนั้นปัจจุบันหลายๆประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วยได้ใช้หน่วยสากลที่เรียกว่า ระบบหน่วยระหว่างชาติ ( The
Internation System of Unit ) เรียกย่อว่า ระบบเอสไอ ( SI Units ) ซึ่งประกอบด้วยหน่วยฐาน
และหน่วยอนุพัทธ์ ดังนี้
1. หน่วยฐาน ( base
unit ) เป็นหน่วยหลักที่ได้จากการวัดโดยตรง จากเครื่องมือวัดต่างๆ ไม่ได้
เกิดจากการนำค่าที่วัดได้ไปคำนวณตามสูตรคณิตศาสตร์กับข้อมูลอื่นๆ
ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 7 ปริมาณ คือ
ปริมาณฐาน
| ชื่อหน่วย | สัญลักษณ์ |
ความยาว | เมตร | m |
มวล | กิโลกรัม | kg |
เวลา | วินาที | s |
กระแสไฟฟ้า | แอมแปร์ | A |
อุณหภูมิ,อุณหพลวัต | เคลวิน | K |
ปริมาณสาร | โมล | mol |
ความเข้มของการส่องสว่าง | แคนเดลา | cd |
2.หน่วยอนุพันธ์ ( derived unit ) เป็นหน่วยซึ่งมีหน่วยฐานหลายหน่วยมาเกี่ยวข้องกัน
เช่น หน่วยของความเร็วเป็น เมตร/วินาที
ซึ่งมีเมตรและวินาทีเป็นหน่วยฐาน หน่วยนี้มีอยู่หลายหน่วยและ บางหน่วยก็ใช้ชื่อและสัญลักษณ์เป็นพิเศษ
ดังต่อไปนี้
ปริมาณอนุพัทธ์
| ชื่อหน่วย | สัญลักษณ์ | เทียบเป็นหน่วยฐาน |
ความเร็ว | เมตรต่อวินาที | m/s, | 1 m / s = |
ความเร่ง | เมตรต่อวินาที2 | m /s2 | 1 m / s2 = |
แรง | นิวตัน | N | 1 N = 1 kg. m /s2 |
งาน,พลังงาน | จูล | J | 1 J = 1 N.m |
กำลัง | วัตต์ | W | 1 W = 1 J /s |
ความดัน | พาสคาล | Pa | 1 Pa = 1 N / m2 |
ความถี่ | เฮิรตซ์ | Hz | 1 Hz = 1 s – 1 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น