การอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ


รูป 1 ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ
การอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ
ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ  เช่น กลางวันกลางคืน  รุ้ง  ฟ้าแลบ  ฟ้าร้อง  ดวงจันทร์ทรงกลด เป็นต้น  มักเป็นที่สนใจแก่ผู้ที่พบเห็น  มนุษย์ในสมัยโบราณพยายามอธิบายการเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติดังกล่าว โดยเชื่อว่า เกิดจาการกระทำของเทพเจ้า  หรือภูตผีปีศาส  ตามที่เราทราบได้จากนิยายปรัมปราของแต่ละชาติ  จากความสงสัย  อยากที่จะได้เข้าใจในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น  ทำให้มนุษย์มีพัฒนาการทางสติปัญญามากกว่าสัตว์โลกอื่นๆ อย่างไรก็ดีการอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติของมนุษย์ในนระยะเริ่มต้นนี้ยังไม่มีความเป็นเหตุเป็นผล 
ในยุคต่อมาเริ่มมีการสังเกตและบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการศึกษาเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติของมนุษย์ เช่น ชาวอียิปต์โบราณสังเกตและบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลต่างๆเป็นเวลานานจนสามารถทำนายเวลาของการเปลี่ยนฤดูได้ล่วงหน้า   และใช้ความรู้นี้เป็นประโยชน์ในการเตรียมการเพาะปลูก   นอกจากนี้มนุษย์ยังพบว่า   การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนตำแหน่งของกลุ่มดาวฤกษ์บนท้องฟ้าเทียบกับตำแหน่งของดวงอาทิตย์อีกด้วย
รูป 2 นักดาราศาสตร์สมัยโบราณกับการสังเกต
และบันทึกข้อมูล
จากการสังเกตและบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์  และกลุ่มดาวฤกษ์ต่างๆ มาตั้งแต่สมัยโบราณ   ทำไห้โคเพอร์นิคัสซึ่งเป็นนักดาราศาสตร์ในยุคกลางสามารถบรรยายการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ต่างๆ รอบดวงอาทิตย์   ต่อมาเคปเลอร์ได้ตั้งกฎเพื่อใช้ในการอธิบายการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์นั้น   โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการบันทึกของนักดาราศาสตร์คนอื่นๆ 
การพัฒนาความรู้ของมนุษย์นั้นเกิดขึ้นจากกการสังเกต   การบันทึกข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้   เพื่อสรุปหาความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ   ที่เกี่ยวข้อง   เช่น ความรู้ที่ว่า “ โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบหนึ่งรอบใช้เวลา 365.24 วัน ” กับความรู้ที่ว่า “ ดวงจันทร์โคจรรอบโลกใช้เวลา 27.32 วัน ” เป็นต้น   ซึ่งความรู้เหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการสังเกตและบันทึกข้อมูลของคนเพียงคนเดียว   แต่เป็นการสรุปข้อมูลที่สะสมไว้เป็นจำนวนมากโดยผู้สังเกตรุ่นก่อนๆ นับตั้งแต่สมัยโบราณเป็นต้นมา    เมื่อนักดาราศาสตร์สามารถบรรยายการเคลื่อนที่ของโลกและดาวเคราะห์ต่างๆ ได้แล้ว   มนุษย์ก็พยายามหาคำอธิบายต่อไปอีกว่า   เพราะเหตุใดดาวเคราะห์จึงโคจรเช่นนั้น   ซึ่งนักเรียนจะตอบคำถามนี้ได้หลังจากได้ศึกษาต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผลงาน

ผลงานบทเรียนออนไลน์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 1 เรื่อง อะตอมและตารางธาตุพื...